Generative AI
Saruta Charunmethee
1
นาที อ่าน
December 28, 2023

ผู้ช่วย AI พัฒนาไปไกลได้แค่ไหน? ชวนดู Black Mirror - Netflix

ใครเคยมีประสบการณ์ดูหนัง sci-fi แล้วสงสัยว่าทำไมมันถึงกลายมาเป็นเรื่องจริงได้หรือเปล่า?

ถ้ายังไม่เคยลองดูซีรีส์รวมเรื่อง ผลงานจาก Netflix ที่มีชื่อว่า Black Mirror แล้วละก็ อาจจะยังไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องว้าวได้ขนาดนี้

เหตุผลก็เพราะซีรีส์ดังกล่าวได้พูดถึงการที่ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาทดสอบศีลธรรม สิทธิและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการสอดส่องติดตามผู้อื่นตลอด 24 ชม. ไปจนถึงการปลอมแปลงบุคคลโดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ บวกกับจุดพลิกฉากที่ทำให้เนื้อเรื่องและสิ่งที่ Charlie Brooker ผู้กำกับต้องการจะสื่อนั้นได้รับความสนใจอย่างมาก

บางตอนก็มีเนื้อหาที่เข้าถึงได้ เข้าใจได้มากกว่า เช่น “Nosedive”, “Hated in the Nation” หรือตอน “Smithereens” ที่กล่าวถึงอำนาจของโซเชียลมีเดียที่มากถึงขั้นสำมารถตัดสินชีวิต ความเป็นอยู่ของคนได้

บางตอนก็อาจมีเนื้อหาที่น่าตั้งข้อสังเกตหรือหลุดโลกไปเลย เช่น การเปลี่ยนถ่ายจิตสำนึก สังคมบริโภคนิยม หรือการคัดลอกข้อมูลทางดิจิตัล

แต่สิ่งที่เตะตาก็คือปรากฎการณ์ที่เห็นกันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นผลของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็คือผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์และระบบลอกเลียนแบบเสียง(ที่คาดว่าน่าจะเป็น) AI

เราคาดเดาว่าจะต้องเกิดขึ้นจริง และปีพ.ศ. 2566 นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งก็คือการปล่อยตัว ChatGPT นี่เอง

ภาพในจินตนาการของผู้ช่วย AI ในเรื่อง Black Mirror

การใช้ AI ในซีรีย์ Black Mirror l Netflix
การใช้ AI ในซีรีย์ Black Mirror l Netflix

(ไม่สปอยล์เนื้อหาในซีรีย์)

ตอนที่มีชื่อว่า “Rachel, Jack and Ashley Too” (Season 5, Episode 3) นั้นกำกับโดย Anne Sewitsky และเริ่มฉายในปี 2019 ซึ่งพูดถึงการผสมผสานเทคโนโลยีผู้ช่วย AI โดยใช้เทคนิคมาร์เก็ตติ้งที่ขายความเป็นศิลปินชื่อดังอย่าง Ashley O ผ่านหุ่นยนต์ที่มีชื่อว่า “Ashley Too” มีหน้าตาลักษณะคล้ายกันที่ถูกสร้างมาเพื่อเป็นเพื่อนคุยแก้เหงา ขยันให้กำลังใจเป็นพิเศษ

แต่เจ้าหุ่นยนต์ประเภทนี้ก็ทำให้นึกถึงเจ้าหุ่นยนต์ตัวขน Furby ที่มาแรงในช่วงสิบปีก่อนอยู่ไม่น้อย แค่หน้าตาน่ากลัวน้อยกว่าและดูเป็นมิตรกับวัยอื่นมากกว่าเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่เพียงแค่จะแสดงให้ถึงการใช้ประโยชน์จากศิลปินเพื่อการทำเงินผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้วยการละเมิดสิทธิและกฎหมาย ปรับแปลงเสียงร้องโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นปัญหาที่เหล่าศิลปินในปัจจุบันกำลังประสบอยู่ แต่ยังได้พูดถึงก็ใช้ประโยชน์จากผู้ช่วย AI ในวงการบันเทิงที่น่าตั้งคำถามด้วย เพราะผู้ช่วย AI นั้นได้รับความนิยมและพัฒนามาตั้งแต่ช่วงกลางปีทศวรรษที่ 2010

ถ้าเป็นเรื่องการถ่ายโอนจิตสำนึกแล้วละก็ ไม่มีนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้คำตอบได้ในตอนนี้ได้แน่นอน (แค่แต่งเติมเรื่องให้ดูน่าสนใจเท่านั้นเอง)

การใช้งานผู้ช่วย AI ในชีวิตประจำวัน

การบริโภค science fiction ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อ เพราะอาจจะทำให้เรามานั่งวิเคราะห์ความเป็นจริงในปัจจุบันที่เรามองข้ามได้

แต่สุดท้ายแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการไม่หยุดพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะมาช่วยเติมเต็มช่องว่าง ความผิดพลาดของมนุษย์และปัญหาทางสังคม เป็นประโยชน์และสำคัญต่อการดํารงอยู่ของมนุษย์

หรือถ้าอธิบายให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ก็คือเพื่อปรับปรุงชีวิตและสร้างประโยชน์ให้กับตัวบุคคล องค์กร และสังคมโดยรวม

ตอนนี้เรารู้แล้วว่าผู้ช่วย AI นั้นขับเคลื่อนด้วยการเรียนรู้ของเครื่องและโมเดลภาษาขนาดใหญ่ นักพัฒนาที่มองการณ์ไกลเหล่านี้จึงพัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายและการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น (และมั่นใจว่า AI เหล่านี้จะไม่ครอบครองโลกของเราอย่างแน่นอน)

ผู้ช่วย AI ด้านธุรกิจ

"ผู้ช่วย AI กลายเป็นเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกสําหรับครัวเรือนและสิ่งจําเป็นสําหรับธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม"

ตั้งแต่อุตสาหกรรมความงามจนถึง สุขภาพและธนาคาร ผู้ช่วย AI นั้นได้รับการรับรองแล้วว่ามีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าถึงได้ 24/7 ด้วยการผสมผสานกับแพลตฟอร์มอื่นๆ

ASAP และ Amity Voice ก็เป็นผลิตภัณฑ์ตัวอย่างที่เกิดจากจากความต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณไปไกลถึงระดับโลกและพัฒนาระบบการดําเนินงานให้ดีขึ้นได้ โดยเน้นไปที่การบริการลูกค้าผ่านระบบที่ขับเคลื่อนด้วย GPT

เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่